แนะนำตัว

รูปภาพของฉัน
เพชรบุรี, เอเชีย, Thailand
สื่อเป็นกลาง โปร่งใส สื่อของคนเมืองเพชร

10/21/2552

วัฒนธรรมเมืองเพชร


เพชรบุรี เมืองวัฒนธรรม

เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยทางทิศตะวันตก มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มีหลักฐานชื่อเรียกปรากฏในหนังสือชาวต่างประเทศ เช่นชาวฮอลันดาเรียกว่า “พิพรีย์” ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า “พิพพีล์” จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรีคือ “เมืองพริบพรี” เพชรบุรีมีปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่น พระปรางค์ 5 ยอด ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร และปราสาทหินศิลาแลง ณ วัดกำแพงแลงเป็นต้น เมืองเพชรบุรีมีศิลปะวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็นบ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เช่น ศิลปะปูนปั้น เป็นต้น ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญเนื่องจากมีวัดเก่าแกู่่และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมากหลงเหลืออยู่ นอกจากนั้นยังมีความเจริญรุ่งเรือง ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อความเลื่อมใสศรัทธา และผลงานช่างสกุลเมืองเพชรหลายแขนงตกทอดมาึถึงยุคปัจจุบัน





การทำตาลโตนด เอกลักษณ์ของคนพื้นบ้านเมืองเพชร



ต้นตาลหรือตาลโตนด เป็นไม้คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบุรีมาช้านาน วิถีชีวิตของคนในจังหวัดเพชรบุรี เกี่ยวพันกับตาลโตนดทุกคน ในอดีต น้ำตาลเป็นสินค้าสำคัญของเมืองเพชร ร่องรอยดังปรากฎให้เห็นคือ ภาชนะหม้อดินเผาที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุน้ำตาล และเครื่องใช้ไม้สอยที่ใช้ ในการทำตาล อาหารการกินเกี่ยวกับตาลหลายประการของเมืองเพชรมีชื่อ เลื่องลือมากได้แก่ ขนมหม้อแกง ขนมตาล ลูกตาลอ่อนทั้งสดและเชื่อม ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทำจากไม้ตาล ปัจจุบันได้กลายเป็นสินค้าสำคัญที่ นักท่องเที่ยวจะต้องแวะซื้อหานำกลับบ้าน วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับต้นตาลจึง เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองเพชรบุรี





"ไทยทรงดำ" หรือคนไทยเชื้อสายลาวโซ่ง ปัจจุบันอาศัยอยู่ใน บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย ในทุกๆ ปีจะมีงานรื่นเริงในวันคืนสู่เหย้า ช่วงปีใหม่ไทย วัฒนธรรมที่ยังคงเอกลักษณ์ไว้ คือการแต่งกาย เสื้อผ้า ลักษณะของบ้านที่อยู่อาศัย ภาษา อาหารการกิน การเล่นและการร่ายรำ

"ลาวเวียง" ปัจจุบันมีถิ่นอาศัยที่หมู่บ้าน มาบปลาเค้า อำเภอท่ายาง แต่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไม่เด่นชัดเหมือนไทยทรงดำ

"กะเหรี่ยง-กะหร่าง" ปััจจุบันอาศัยอยู่รอบๆ เขตอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน สืบทอดวิถีชีวิตด้านการแต่งกาย ประเพณีข้าวห่อ เพลง ดนตรี และการร่ารำ ตลอดจนความเชื่อและความศรัทธา

"ชาวไทยเ้ชื้ื่อสายมอญ" ชาวมอญมีประวัติอพยพเข้ามาตั้งรกราก ในเพชรบุรีอัยมีสาเหตุมาจากการทำศึกสงครามที่เกิดการเกณฑ์ผู้คนมาใช้ แรงงานและพัฒนาประเทศ เมื่อเวลาผ่านพ้นไป ความรักในบ้านที่อยู่ทำให้ ชาวมอญไม่ย้ายถิ่นไปที่ใด ในเพชรบุรี ชาวไทยเชื้อสายมอญที่อาศัยอยู่ ได้แก่ชุมชนวัดคุ้งตำหนัก ในเขตบางครก-บางตะบูน อำเภอบ้านแหลม ชุมชนไทยเชื้อสายต่างๆ เหล่านี้นับเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาอย่างหนึ่ง





วัวลาน: การละเล่นเพื่อความบันเทิงพื้นบ้านเฉพาะเมืองเพชรบุรีเท่านั้น

ประเพณีวัวลานเป็นการละเล่นของชาวนาเมืองเพชรบุรีที่ใช้วัวเป็นแรงงาน วัวลาน พัฒนามาจากการนวดข้าวที่นำวัวมาผูกต่อกัน ให้เดินวนเป็นวงกลม ย่ำไปบนฟางข้าวเพื่อนวดเอาเมล็ดข้าออกมา เมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวสิ้นสุด ชาวนาจะว่างงาน จึงมีความคิดที่จะหากิจกรรมมาเล่น เพื่อความสนุกสนานและท้าทายกัน ระหว่างหมู่บ้านและเจ้าของวัว รูปแบบการแข่งขันประกอบด้วยการปักหลักเกียด ซึ่งเป็นหลักไม้ ปักไว้กลางลานแล้วนำวัวตัวผู้มาผูกติดเป็นรัศมีออกไปยาวประมาณ 19 ตัว และจะแบ่งวัวออกเป็น 2 ฝ่าย คือ วัวรอง และวัวนอก (ตัวที่อยู่นอกสุด) การแข่งขันถือว่าวัวฝ่ายใดวิ่งแซงอีกฝ่ายหนึ่งได้ ถือว่าฝ่ายนั้นชนะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น